คู่มือการใช้เอกสารข้อตกลง
การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Processing Agreement - DPA)
|
|
|
|
รายละเอียด
และ
คำแนะนำในการใช้งาน
·
ในกรณีมีการส่งต่อและ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคล
ระหว่างบริษัทบัญชีกับบุคคลภายนอก
โดยเฉพาะบุคคลผู้อยู่ในฐานะ
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Processor)” เช่น Freelance
ที่จ้างมากรอกข้อมูลหรือผู้ให้บริการภายนอกอื่นๆ
บริษัทบัญชีในฐานะ
“ผู้ควบคุมข้อมูล
(Data Controller)” มีหน้าที่ในการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
(DPA) กับผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากบริษัท
เพื่อเป็นการกำหนดกรอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่
ความรับผิดชอบระหว่างบริษัท
และบุคคลภายนอกที่มีการส่งต่อเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันดังกล่าว
|
·
โดยสามารถใช้เอกสารร่าง
“สัญญาการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”
มาปรับแก้ไขให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
โดยมี คำแนะนำการปรับเนื้อหาสัญญา การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ดังนี้
○
ระบุรายละเอียดข้อมูลของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
โดย (ก)
คือฝ่ายที่ส่งข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Controller) และ (ข)
คือฝ่ายที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Processor)
○
ระบุวัตถุประสงค์ในการรับ
ส่งต่อ
และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ
|
|
|
·
ในกรณีมีการจัดทำสัญญาว่าจ้างหรือสัญญาประเภทอื่นระหว่างบริษัท
และผู้ให้บริการภายนอกที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกัน
บริษัทอาจพิจารณารวมเอาเนื้อหาข้อสัญญาย่อ
เกี่ยวกับการกำหนดกรอบการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเข้าไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวได้ แทนการใช้เอกสาร
DPA ได้เช่นกัน
โดย EasyPDPA
มีคำแนะนำให้ใช้เนื้อหา
ดังต่อไปนี้
|
ข้อ [ ] ข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ให้บริการภายนอกยอมรับและรับทราบว่า
ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการอาจเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง
หรือจากบริษัท
ซึ่งในกรณีดังกล่าวผู้ให้บริการรับทราบและยอมรับว่า
ตนมีหน้าที่ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดังนี้
|
|
|
1.
ผู้ให้บริการภายนอกต้องไม่เก็บ
รวบรวม ใช้
คัดลอกหรือตัดทอน
ประมวลผล
เก็บรักษา
หรือส่งต่อเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงข้อสงสัย
หากผู้ให้บริการภายนอกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้
ผู้ให้บริการภายนอก
จะมีฐานะเป็น
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”
ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวโดยฝ่ายเดียว
และหากการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวของผู้รับข้อมูลส่วนบุคคล
นำไป
สู่ความเสียหายไม่ว่าทางตรง
ทางอ้อม
หรือไม่ว่าลักษณะใดต่อบริษัท
ผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าวต้องรับผิดและชดเชยให้แก่บริษัทสำหรับความเสียหายและการเรียกร้องใด
ๆ
ที่เจ้าของข้อมูลอาจเรียกร้องจากการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ให้บริการภายนอกที่เพิ่มเติมนั้นอย่างเต็มส่วน
|
|
2.
ผู้ให้บริการภายนอกต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับให้แก่บุคคลใด เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท
หรือเว้นเป็นกรณีการเปิดเผยข้อมูลให้แก่
เจ้าหน้าที่
ลูกจ้าง ตัวแทน
ที่ปรึกษาของผู้ให้บริการภายนอก
“เท่าที่จำเป็น”
เพื่อวัตถุประสงค์การปฏิบัติสิทธิและหน้าที่ภายใต้สัญญาฉบับนี้เท่านั้น
เพื่อหลีกเลี่ยงข้อสงสัย
กรณีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการโดยสอดคล้องกับข้อ
2
ผู้ให้บริการภายนอกต้องรับประกันให้บุคคลที่ได้รับข้อมูลทั้งหมดปฏิบัติหน้าที่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
ในมาตรฐานข้อกำหนดเดียวกับที่กำหนดไว้ภายใต้สัญญาฉบับนี้
และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล
ผู้ให้บริการภายนอกต้องรับผิดชอบต่อบริษัทสำหรับการกระทำผิดของบุคคลดังกล่าว
และต้องจัดทำมาตรการ
เพื่อยับยั้งบุคคลนั้นจากการฝ่าผืน
หรือกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
3.
ผู้ให้บริการภายนอกต้องไม่โอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังพื้นที่นอกประเทศไทย (ทั้งในลักษณะของการโอนส่งต่อโดยตรงหรือการเปิดให้เข้าถึงจากระยะไกล)
โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือคำสั่งอันเป็นลายลักษณ์อักษรของบริษัท
ทั้งนี้ ในการที่จะดำเนินการโอนข้อมูลดังกล่าว
ผู้ให้บริการภายนอกต้องรับประกันมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกโอนหรือถูกเข้าถึงจากระยะไกลของประเทศและผู้รับโอนข้อมูลส่วนบุคคลปลายทางที่เทียบเท่ากับการคุ้มครองภายใต้สัญญาฉบับนี้หรือภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับของประเทศไทย
|
|
4.
ผู้ให้บริการภายนอกต้องจัดทำ
และเก็บรักษาบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนดำเนินการประมวลผลไว้ โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อให้บริษัท
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หรือเจ้าของข้อมูลเข้าดำเนินการตรวจสอบได้
|
|
|
5.
ผู้ให้บริการภายนอกต้องเก็บ
หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็น เพื่อดำเนินการตามขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่และสิทธิภายใต้สัญญาฉบับนี้เท่านั้น
และต้องทำลายหรือส่งคืนข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บริษัททันที
(ก)
เมื่อสัญญาฉบับนี้หรือสัญญาหลักสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด
(ข)
เมื่อได้รับคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท
|
|
6.
ในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอก
มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด
ตามกฎหมาย
คำสั่งศาล
หรือตามข้อปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ
ผู้ให้บริการภายนอกต้องแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็วที่สุด เพื่อให้บริษัทมีสิทธิคัดค้าน
หรือดำเนินการเพื่อการปกป้องสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของตนได้
และต้องเปิดเผยเฉพาะข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนเท่านั้น
|